วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบกรุงสุโขทัย

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์
แบบทดสอบเบญจมราชานุสรณ์





1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเหตุใด


เห็นว่าไม่ค่อยมีผู้ให้การนับถือ

เห็นว่าเป็นศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง ถ้านำมานับถือจะทำให้อาณาจักรเจริญรุ่งเรือง

เห็นว่าเป็นความเชื่อที่มีเหตุผลไม่งมงาย

เห็นว่าประชาชนเป็นคนไม่ดี ควรมีศาสนาไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว



2. เมืองหน้าด่านที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสุโขทัยคือเมืองใด


เมืองนครชุม

เมืองศรีสัชนาลัย

เมืองสองแคว

เมืองสระหลวง



3. กฎหมายในข้อใดต่อไปนี้ที่มีการจารึกไว้ในหลักศิลาจารึก

กฎหมายร้องทุกข์

กฎหมายภาษี

กฎหมายมรดก

ถูกทุกข้อ



4. เมืองที่ใช้เวลาเดินเท้า 2 วัน มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ กษัตริย์ส่งพระบรมวงศานุวงไปปกครองคือเมืองใด


เมืองประเทศราช

เมืองลูกหลวง

เมืองราชธานี

เมืองพระยามหานคร



5. อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด

พ่อขุนบางกลางหาว

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนเม็งราย

พ่อขุนบานเมือง



6. ข้อความในหลักศิลาจารึกที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แสดงให้เห็นว่าสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

ข้าวยากหมากแพง

ยากจน

อุดมสมบูรณ์

อดอยาก ขาดแคลนอาหาร



7. การลงโทษในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ปรากฏในสมัยสุโขทัย


การประหารชีวิต

กักขับ

กักขัง

การเฆี่ยน



8. สมัยสุโขทัยมีการปกครองแบบใด

สมมติเทพ

ประชาธิปไตย

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

คอมมิวนิสต์



9. อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด



พญาไสลือไทย

พญาลิไท

พญาลือไท

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ



10. เมืองในข้อใดที่มีหน้าที่รวบรวมกำลังคนและเตรียมเสบียงอาหารยามมีศึกสงคราม


เมืองราชธานี

เมืองพระยามหานคร

เมืองลูกหลวง

เมืองประเทศราช





ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:






การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย






สุโขทัย หมายถึง รุ่งอรุณแห่งความสุข ของชาวไทยในอดีตเมื่อ 700 ปี ที่ผ่านมา เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีความ อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว การเกิดขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย นับว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานของชาติไทยในสุวรรณภูมิ อย่าง เป็นปึกแผ่น และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ความรุ่งโรจน์ของกรุงสุโขทัย

แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง 200 ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา 9 รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระเฉพาะ 120 ปีแรก ช่วงที่เจริญที่สุดคือ ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัย สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้" กลางเมืองสุโขทัย มีตระพังโพย สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีเถร มหาเถร.."
ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัย ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น "มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่ บ้านราม มีป่าม่วง ป่าขาม ดูงามดังแกล้ง..." นอกจากความเป็นอยู่ที่เจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย และวัดวาอารามหลวง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่เป็นความรุ่งโรจน์อีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานอันยอดเยี่ยมของสุโขทัย คือ สรีดภงส์ พร้อม กับขุดคลองเชื่อมกับลำคลองธรรมชาติ แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมือง และในเมือง ตามวัดวาอาราม รวมทั้งสิ้น 7 สรีดภงส์ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม ได้ค้นพบเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่า ถึง 3 กลุ่ม รวม 49 เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองทางทิศใต้ และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนราม เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิตถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (ชวา) แม้ประเทศญี่ปุ่น ก็ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน
การขนส่งเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสมัยสุโขทัย ใช้เรือสำเภาบรรทุกไปในทะเล โดยได้ค้นพบเรือสินค้าสมัยสุโขทัย ที่บรรทุกเครื่อง ปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัยไปจมอัปปางลงในท้องทะเลลึกในอ่าวไทยเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังมีการหารายได้เข้าประเทศ โดยการเป็นตัวแทนการค้า โดยรับสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชาม ผ้าไหม และอื่น ๆ เข้ามาขายในประเทศ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
สังคมชาวเมืองสุโขทัย เป็นสังคมที่เรียบง่าย เพราะประชาชนมีจำนวนไม่มาก จึงใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง และเคารพพระมหากษัตริย์ดุจบุตรที่มีความเคารพต่อบิดาของตน ส่วนพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ทรงเข้าถึงจิตใจ และให้ความใกล้ชิดและเป็นกันเองกับราษฎร เมื่อราษฎรมีเรื่องทุกข์ร้อนก็สามารถกราบบังคมทูลได้ด้วยตนเอง โดยการมาสั่นกระดิ่งที่ประตูไม่ว่าจะเป็นเวลาใด พระองค์จะเสด็จมารับฟังทุกเรื่องด้วยพระองค์เอง ด้วยดังปรากฏในหลักศิลาจารึก ด้านที่ 1 ว่า " ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มันจัก กล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่ง และศิลาจารึก ด้านที่ 3 ว่า " ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ถือบ้านถือเมือง "

ด้านการค้า

ได้ทรงเปิดศูนย์การค้าประจำเมืองสุโขทัยขึ้น ที่เรียกว่า" ตลาดปสาน "เพื่อชักจูงให้พ่อค้าต่างเมืองทั้งแดนใกล้ แดนไกล นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยไม่เรียกเก็บค่าภาษีอากร ทำให้มีชาวต่างประเทศ สนใจนำสินค้ามาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ทำให้ชาวสุโขทัย รู้จักติดต่อกับคนต่างเมือง ต่างภาษา รู้จักวัฒนธรรมของเมืองอื่น ดังศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...."

ด้านการปกครอง

สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้ ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่า เมืองไทยได้เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นพระประมุขของชาติ หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นชัดว่า ในสมัยพ่อขุนรามไม่มีคำว่า "ทาส" แต่จะเรียกเหล่าประชาชน ทั้งหลายว่า "ลูกบ้าน ลูกเมือง" "ฝู่งท่วย (ทวยราษฎร์)" "ไพร่ฟ้าข้าไท" "ไพร่ฟ้าหน้าปก" "ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนทุกคน มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระบบพ่อปกครองลูก" ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า
"หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูตมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..."
การปกครองในแบบพ่อกับลูก นับเป็นคุณธรรมของพ่อเมือง จึงทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
ด้วยกรุงสุโขทัย เป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างประเทศ เช่น จีน และแคว้นอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 1835 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ ปี พ.ศ. 1866 รัชสมัยพระเจ้าเลอไท ไทยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้เคยขอม้าขาว และของอื่น ๆ จากจีน เป็นการตอบแทนด้วย

ด้านพุทธศาสนา

พ่อขุนรามคำแหง ทรงอัญเชิญพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาปลูกฝังไว้ที่เมืองสุโขทัย และทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของเมืองไทย จนเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงคิดประดิษฐ์ลายสือไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ทำให้ชนชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็น เอกลักษณ์ของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
พุทธศาสนาเข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิต
ชนชาติไทย นิยมเลื่อมใสในพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) ผสมผสานกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ มาแต่บรรพกาล จนถึงรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงอัญเชิญศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน หรือฝ่ายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราช จึงเข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย พระองค์ทรงยึดมั่นในทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง จึงทำให้บรรดาข้าราชการและราษฎร พากันยึดถือเป็นแบบตามพระเจ้าแผ่นดินไปด้วย ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
"คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขไท ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุน ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"
พ่อขุนรามคำแหง ฯ ทรงโปรดให้สร้าง ขดารหินมนังษีลาบาตร ในป่าตาลขึ้น เป็นแท่นที่ประทับในการเสด็จออกขุนนาง เมื่อว่างจากการออกขุนนาง ก็ให้ใช้เป็น "อาสน์สงฆ์" สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรม และมีพรรษาสูงระดับ ปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่ง แสดงธรรมแก่อุบาสก บรรดาชาวเมืองพากันถือศีลในวันพระ พระยาเลอไท ซึ่งเป็นราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ทรงมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระราชบิดา ได้นำ แบบอย่างพระพุทธศาสนา " ลัทธิลังกาวงศ์ " มาเผยแพร่เพิ่มเติม เป็นการปลูกฝังแก่ชาวสุโขทัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาอีกมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

การสงครามของอาณาจักรสุโขทัย

ในแผ่นดินของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ราวปี พ.ศ. 1800 เมืองตาก (เมืองหน้าด่านทิศตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัย) ได้ถูกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองตากจึงขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกกองทัพไปช่วย และมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ติดตามไปรบในครั้งนี้ด้วย
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ " หัวขวา " แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง " หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นกองทัพสุโขทัยผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัย อ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า...." "ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ" มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า "พระรามคำแหง" ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน" จนถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไป อย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 2 วิธี คือ
1. ใช้กำลังทางทหาร ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
ปราบเบื้องตะวันตก รอดสรลวง สองแคว ลุม บาจาย สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง......หงสาพดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว
2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน
3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ ๆ เช่น ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีน มีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด

อวสานกรุงสุโขทัย
ในรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมือง เป็นเวลาที่ไทยตั้งตัวใหม่ ๆ ต้องทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอม สามิภักดิ์ โดยพ่อขุนรามคำแหง นำทัพออกปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ที่อยู่ชายพระราชอาณาเขต อาณาจักรของกรุงสุโขทัย จึงตกอยู่ในความสงบสุขตลอดมา
จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพ่อขุมรามคำแหง ขึ้นครองราชย์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง เจริญรุ่งเรืองกว่ารัชกาล อื่น ๆ ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระเจ้าเลอไท พระราชโอรสได้ครองราชสมบัติ ปรากฏตามพงศาวดารพม่าได้กล่าวไว้ว่า "เมื่อ พ.ศ. 1873 หัวเมืองมอญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนราม กลับเป็นขบถตั้งแข็งเมือง พระเจ้าเลอไท ส่งกองทัพออกไปปราบปราม แต่ไม่สามารถเอาชนะได้"
ต่อมา พระยาลือไท ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเลอไท พระราชบิดา ทรงพระนามว่า "พระมหาธรรมราชาลิไทย" เป็นกษัตริย์ที่ทรงมุ่งทำนุบำรุงอาณาจักรสุโขทัย แต่ในทางธรรมอย่างเดียว ทำให้สุโขทัยขาดความเข้มแข็ง จนไม่สามารถควบคุมประเทศราชไว้ได้ ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงตั้งแข็งเมืองและประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมขึ้นกับกรุงสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 เป็นต้นมา ขุนหลวงพะงั่ว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา และได้ส่งกองทัพมาทำสงครามตีเมืองต่าง ๆ 7 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1914-1921 แต่ไม่สามารถตีหักเข้าเมืองได้ จนกระทั่ง "พระเจ้าไสยลือไท" (พระมหาธรรมราชาที่ 2) ขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพไปตีเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ซึ่งพระเจ้าไสยลือไทย เสด็จมาบัญชาการรบเอง จนขุนหลวงพะงั่วไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ แต่ต่อมาทรงพระราชดำริว่า '"ถ้าหากขืนรบต่อไปก็คงเอาชนะกองทัพของขุนหลวงพะงั่วไม่ได้" จึงทรงยอมอ่อนน้อมต่อขุนหลวงพะงั่วโดยดี และนับแต่นั้นมา กรุงสุโขทัยก็สูญเสียเอกราช กลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาตลอดไป